เมนู

อรรถกถาสุกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุกสูตรที่ 9
บทว่า มิจฺฉาปณิหิตํ ความว่า ชื่อว่า เดือยเขาตั้งไว้ในที่สูง ย่อม
ทำลายมือหรือเท้า แต่ไม่ตั้งไว้อย่างนั้น ชื่อว่า ตั้งไว้ผิด. บทว่า มิจฺฉา-
ปณิหิตาย ทิฏฺฐิย
ได้แก่ ด้วยกัมมัสสกตปัญญาที่ตั้งไว้ผิด. บทว่า อวิชฺชํ
เฉจฺฉติ
ความว่า จักทำลายอวิชชาอันปิดบังสัจจะ 4. บทว่า วิชฺชํ
อุปฺปาเทสฺสติ
ความว่า จักยังวิชชาคืออรหัตมรรคให้เกิดขึ้น. บทว่า
มิจฺฉาปณิหิตตฺตา ภิกฺขเว ทิฏฺฐิยา ความว่า เพราะกัมมัสสกตปัญญา
และมรรคภาวนาตั้งไว้ผิด คือ เพราะไม่ประพฤติตามกัมมัสสกตญาณให้
มรรคภาวนา. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำกัมมัสสกตญาณให้
อาศัยมรรคแล้ว จึงตรัสมรรคคลุกเคล้ากัน.
จบอรรถกถาสกุสูตรที่ 9

10. นันทิยสูตร



ธรรม 8 เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน


[45] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล

ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็น
เบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนันทิยะ ธรรม 8 ประการนี้ ที่
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็น
เบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ธรรม 8 ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ ดูก่อนนันทิยะ ธรรม 8 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็น
ที่สุด.
[46] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโคยอเนกปริยาย เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอ
ถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิม
แต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบนันทิยสูตรที่ 10
จบอวิชชาวรรคที่ 1

อรรถกถานันทิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนันทิยสูตรที่ 10.
บทว่า ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า. คำที่เหลือใน
นันทิยสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ 10
จบอวิชชาวรรคที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อวิชชาสูตร 2. อุปัฑฒสูตร 3. สารีปุตตสูตร 4. พราหมณ
สูตร 5. กิมัตถิยสูตร 6. ปฐมภิกขุสูตร 7. ทุติยภิกขุสูตร 8. วิภังคสูตร
9. สุกสูตร 10. นันทิยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.